ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ระเบียบปฏิบัติทีมพยาบาลบริษัทพณาอาชีวอนามัย

บททั่วไป
1.    บริษัทสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมกฎระเบียบ และข้อบังคับเพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ต้องให้สอดคล้องกับ พรบ. กฎหมายแรงงานทุกประการ
2.    สถานประกอบการหมายถึง “ผู้ว่าจ้าง” ที่ทำสัญญาจ้างแพทย์/พยาบาล ห้างหุ้นส่วนสามัญพณาอาชีวอนามัย โดยในสถานะ “ผู้รับจ้าง”
3.    บริษัทหมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญพณาอาชีวอนามัย
4.    พนักงานฝ่ายการพยาบาลหมายถึง พนักงานท่เข้าประจำการห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ประกอบด้วยพนักงาน Full time รายวัน และพนักงาน past timeรายวัน
4.1    พนักงาน full time หมายถึงบุคคลที่เข้าไปปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการโดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษํทฯ ตามวันที่ปฏิบัติงาน
4.2    พนักงาน past time รายวัน หมายถึง บุคคลที่ประจำอยู่ในโรงพยาบาลของภาครัฐ-เอกชน โดยบริษัทฯ ตกลงให้เข้าไปปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ซึ่งจำนวนวันทำการไม่แน่นอน โดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษํทฯ ตามวันที่ปฏิบัติงาน
การว่าจ้างพนักงานฝ่ายการพยาบาล
คุณสมบัติของพนักงาน
1.    จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการพยาบาล
2.    ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการำยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1
3.    สุขภาพดี ปราศจากโรคติดต่อที่เป็นอันตรายหรือสังคมรังเกียจ หรือติดสารเสพติด หรือโรคที่เป็นอุปสรรคในการประกอบวิชาชีพ
4.    สามารถปฏิบัติงานเป็นกะได้ทั้งกะ กลางวันและกะกลางคืน
5.    สามารถปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ได้ทั้งในกรุงเทพฯและปริมณทล หรือนิคมอุตสาหกรรมทุกแห่ง โดยบริษัทฯพิจารณาตาความเหมาะสม
เอกสารที่ใช้ในการสมัคร
1.    หลักฐานการศึกษาได้แก่สำเนาใบประกอบวิชาชีพ ปริญญาบัตร ใบประกอบวิชาชีพที่ยังไม่หมดอายุ
2.    สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
3.    รูปถ่ายหน้าตรงในชุดปกติขาว/ชุดพยาบาล/ชุดครุย 1 นิ้วจำนวน 3 รูป
4.    สำเนาประจำตัวผู้เสียภาษี และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารทุกแห่ง
5.    หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี
6.    เอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง หากตรวจสอบว่าเป็นเท็จ บริษัทฯจะยกเลิกการจ้าง โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และหากเกิดควาเสียหาย บริษัทฯสามารถ แจ้งดำเนิคดีในกรณีใช้หลักฐานเท็จ
ระเบียบการจ้าง/เงื่อนไขในการทำงานทั่วไป
1.    บริษัทฯสงวนสิทธิ์ที่จะมอบหมายงาน โยกย้ายพนักงานฝ่ายการพยาบาลไปปฏิบัติยังห้องพยาบาล ของสถานประกอบการตามควาเหมาะสม ตลอดจนกำหนดเงื่อนไขการจ้าง รวมทั้งเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงานตามความจำเป็น เพื่อสอดคล้องกับสภาพการจ้างงานของสถานประกอบการนั้นๆ
2.    พนักงานฝ่ายการพยาบาลเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถประสานงานได้เป็นอย่างดี ต้องไม่ทำความเสื่อมเสียให้แก่บริษัทฯ และเปิดเผยความลับบริษัทสู่บุคคลภายนอก
3.    การกำหนดวัน/เวลา ทำงานของพนักงานขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือระเบียบของสถานประกอบการที่เข้าไปปฏิบัติงานนั้นๆ โดยมีเวลาพัก ตามความเหมาะสม แต่ต้องอยู่ในบริเวณของสถานประกอบการ เช่นดรงอาหารหรือห้องสันทนาการของบริษัท หากเกิดกรณีฉุกเฉินสามารถ ดูแลกิจการในหน้าที่ได้ทันท่วงที
4.    การบันทึกเวลาทำงาน ของพนักงานแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้
4.1    บันทึกเวลา เข้า-ออก ของสถานประกอบการอาจเป็นบัตรรูด ตอกบัตร หรือลงนามที่จุดสถานประกอบการกำหนด
4.2    บันทึกเวลเข้าออกที่ห้องพยาบาล ซึ่งเป็นแบบฟอร์มที่บริษัทกำหนด
4.3    แบบบันทึกเวลาส่วนบุคคลของพนักงานฝ่ายการพยาบาล
ในกรณีที่พนักงานลืมลงเวลาปฏิบัติงาน เข้า-ออก ตามข้อ 4.1 จะต้องรายงานพร้อมชี้แจงเหตุผลให้ผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบการโดยด่วน มิฉะนั้นจะถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ และไม่ได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว ส่วนแบบบันทึกที่ 4.2,4.3 จะต้องส่งกลับให้บริษัท ตามลำดับต่อไป และต้องเป็นการบันทึกที่ถูกต้องตรงกันทั้ง 3 ส่วนเท่านั้น
5.    พนักงานฝ่ายการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการต้องสวมเครื่องแบบชุดฟอร์มสีขาว ตามแบบที่กำหนดให้เท่านั้น สวมรองเท้าหุ้มส้น และยึดตามระเบียบของสถานประกอบการนั้นๆอย่างเคร่งครัด อาทิการสวม Maskการเปลี่ยนรองเท้า หรือสวมเสื้อคลุมในขณะที่เดินผ่านสายการผลิตเป็นต้น
6.    ในระหว่างเวลา ขณะปฏิบัติหน้าที่ในสถานประกอบการ พนักงานห้ามออกนอกสถานประกอบการโดยเด็ดขาด ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน หรือนำส่งผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล แต่ต้องแจ้งผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องทราบทุกครั้ง
7.    ห้ามพนักงานฝ่ายการพยาบาลทีปฏิบัติหน้าที่ในสถานประกอบการเข้าทำงานสายหรืออกก่อนเวลา มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ และจะพิจารณาจ่ายค่าจ้างโดยบันทึกเวลาออกหลังหมดเวลาแล้วเท่านั้น
8.    วันหยุดและหลักเกณฑ์การลาหยุด พนักงานฝ่ายการพยาบาลจะมีวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ยึดตานโยบายของสถานประกอบการที่เข้าปฏิบัติงาน เนื่องจากบริษัทอยู่ในลักษระงานบริการ ส่วนการลาหยุดทุกประเภทแจ้งหัวหน้าทีมหรือผู้บังคับบัญชาทราบเป็นขั้นตอน ต้องได้รับอนุมัติถึงจะหยุดได้ ทั้งนี้ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด
9.    สถานประกอบการอาจแจ้งให้พนักงานฝ่ายการพยาบาลปฏิบัติงานล่วงเวลา หรือปฏิบัติงานในวันหยุด ดังนั้นโดยลักษณะงานบริการ บริษัทจะให้พนักงานทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากพนักงานก่อน และบริษัทจะคิดค่าจ้างเท่ากับวันทำงานปกติ หรือพิจารณาเป็นกรณีไป เนื่องจากสถานประกอบการจ่ายค่าจ้างให้บริษัทฯเท่ากับวันทำการปกติ
10.           ไม่เปิดเผยความลับของสถานประกอบการ หรือให้ความร่วมมือหรือเปิดช่องทางให้บุคคลภายนอกหรือคู่แข่งทางการค้าสถานประกอบการ กระทำการใดๆอันส่งผลกระทบกับธุรกิจ ตลอดจนการกระทำหรือร่วมมือโจรกรรม ทำลายทรัพย์สินของสถานประกอบการ ปลดทำลาย ต่อเติมหรือแก้ไขเอกสารของบริษัทฯ/สถานประกอบการ โดยไม่มีหน้าที่ดังกล่าว
11.           พนักงานต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของบริษัท หรือทำการแข่งขันกับบริษัทฯ
12.           พนักงานต้องไม่กระทำการใดๆที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี
13.           อื่นๆ ตามที่บริษัทฯพิจารณาว่าเป็นความผิดร้ายแรง
การลงโทษทางวินัย
            วินัยของพนักงานที่ระบุไว้ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากพนักงานฝ่ายการพยาบาลผู้ใดไปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยข้างต้น จะถูกลงโทษทางวินัย ตามสมควรแห่งความผิดที่ได้กระทำดังต่อไปนี้
1.    เตือนด้วยวาจา
2.    ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
3.    พักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง
4.    เลิกจ้าง
ข้อห้ามและข้อปฏิบัติของพนักงานฝ่ายการพยาบาล
1.    พนักงานฝ่ายการพยาบาลต้องแต่งกายให้ถูกระเบียบของสภาการพยาบาล ด้วยชุดเสื้อ กระโปรง หรือกางเกงสีขาวรองเท้าหุ้มส้นสีขาวล้วน สีผมสุภาพ หากผมยาวต้องรวบเก็บให้เรียบร้อย
2.    ปฏิบัติการพยาบาลด้วยความเต็มใจ ตามหลักจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และเป็นผู้ช่วยแพทย์ในกรณีปฏิบัติงานร่วมกัน
3.    สุภาพ อ่อนโยน มีสัมมาคารวะ เน้นเรื่องการบริการพยาบาล
4.    ปฏิบัติหน้าที่ในรับผิดชอบให้เรียบร้อยในแต่ละวัน บันทึกสรุปรายงานประจำวันให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน
5.    บันทึกเวลาปฏิบัติงานตามวิธีการของสถานประกอบการทุกครั้ง
6.    ในกรณีขาดเวรโดยไม่แจ้ง บริษัทจะไม่จ่ายค่าจ้างในงวดสุดท้ายให้กับพนักงานจนกว่าจะได้รับการชี้แจงเป็นรายงานอันสมควรแก่เหตุ
7.    กรณีฉุกเฉิน ไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ตาที่ได้รับมอบหมาย ต้องรีบแจ้งหัวหน้าทีม/ฝ่ายการพยาบาลก่อน 6 ชั่วโมง เพื่อหาผู้ปฏิบัติงานแทน จึงสามารถหยุดงานวันนั้นได้
8.    ในกรณีได้รับคำตำหนิ กล่าวหาการทำงานของพนักงานฝ่ายการพยาบาล คนใดๆก็ตาม ต้องแจ้งเรื่องโดยตรงที่หัวหน้าทีม เพื่อร่วมกันปรับปรุงแก้ไข ไม่พูดให้ร้ายโดยไม่ได้รับข้อมูลจากการสอบสวน หรือใช้กระบวนการอิเลคโทรนิก พูดคุยประเด็นกล่าวล่วงผู้ได้รับการตำหนิ ให้บุคคลที่สามรับรู้ หรือไม่ก็ตาม ถือว่าเป็นความผิด ในการเปิดเผยความลับของบริษัท
9.    การอยู่ร่วมกันขอให้ถือเสมือนการทำธุรกรรมร่วม ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่หนึ่ง
10.           การรักษาดูแลยาและเวชภัณฑ์ ตลอดจนทรัพย์สินอื่นๆ ในห้องพยาบาลของสถานประกอบการ เป็นหน้าที่หลักของพยาบาลที่ต้องรักษาคุณภาพการพยาบาล
11.           รับและส่งเวรในแต่ละเวรให้ผู้ปฏิบัติงานต่อทราบและปฏิบัติได้ถูกต้องในสาระสำคัญดังนี้ การระบาดของโรคอันพึงเฝ้าระวัง การจัดการที่ได้ให้แล้ว การส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องติดตามต่อเนื่อง การสอบสวนอุบัติเหตุที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และกรณีอื่นๆที่เห็นสมควร
12.           ห้ามเล่นแชร์ หรือให้ยืมเงินหรือกู้ยืมจากพนักงานในสถานประกอบการ
13.           ห้ามล็อกประตูปิดไฟ โดยขัดกับนโยบายบริษัท เว้นแต่ได้รับนโยบายจากสถานประกอบการ
14.           ห้ามนอนพักบนเตียงผู้ป่วยในกะกลางคืน แต่ให้พักที่โต๊ะทำงานได้
15.           กรณีงานกะ ต้องรอให้มีผู้รับเวรก่อนจึงออกจากเวรได้
16.           การแลกเปลี่ยนเวร ให้เป็นความรับผิดชอบของเจ้าของเวรเดิมหากเกิดกรณีผิดพลาดใดๆ
การบริหารค่าจ้าง
บริษัทฯมีนโยบายที่จะบริหารให้เป็นไปโดยยุติธรรม และได้รับอัตราจ้างที่เหมาะสมกับความสามารถและความรับผิดชอบ โดยการกำหนดค่าจ้างนั้น บริษัทจะนำปัจจัยต่างๆมาประกอบ เช่นสภาพการจ้างของสถานประกอบการกับบริษัทฯ หน้าที่ความรับผิดชอบ อายุงาน ประสบการณ์ และความจำเป็นต่างๆที่บริษัทฯจะเป็นผู้ประเมินเป็นต้น โดยจ่ายค่าจ้างพนักงานดังนี้
1.    การจ่ายค่าจ้าง บริษัทจะจ่ายค่าจ้างผ่านระบบ Pay Roll ของธนาคารทหารไทยทุกวันที่ 10 ของเดือน หรือถ้าตรงกับวันหยุดจะเลื่อนไปอีกไมเกิน 2 วันทำการ
2.    เนื่องจากบริษัทได้หักภาษี ณที่จ่ายไว้ เป็นการแบ่งเบาภาระจากบริษัทซึ่งมิได้เป็นนิติบุคคล แต่ประกอบวิชาชีพ ลักษณะ บุคคลธรรมดา 
3.    บริษัทจะพิจารณาจ่ายเงินล่วงหน้าให้พนักงานที่ผ่านการประเมิน 120 วันแล้ว ในวงเงิน 3000 บาทต่อครั้ง และจะหักจากค่าจ้างในเดือนถัดไป
4.    ค่าจ้างถือเป็นความลับเฉพาะบุคคล การนำข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างไปเปิดเผยกับผู้อื่น ถือว่าเป็นความผิดทางวินัย
วินัยและวัฒนธรรมองค์กร
1.    พนักงานฝ่ายการพยาบาล ต้องมีคุณสมบัติในการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครบถ้วนตามที่บริษัทฯกำหนด
2.    เคารพและปฏิบัติตามระเบียบกฏเกณฑ์ ข้อบังคับของบริษัทฯโดยเคร่งครัด
3.    เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ทั้งในบริษัทและสถานประกอบการ
4.    เชื่อฟังและปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการโดยเป็นตัวอย่างที่ดีด้านอาชีวอนามัย ทั้งท่าทางการทำงาน การยกของ การสัมผัสสารคัดหลั่ง หรือเลือด
5.    ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร เสียสละ อดทน ประหยัด และจริงใจ
6.    ไม่หยุดงานโดยไม่มีเหตุอันควร
7.    ระมัดระวังป้องกันทรัพย์สิน ไม่กระทำการดดยจงใจ ประมาทเลินเล่อ จนเป็นเหตุให้ทรัพย์สิน เครื่องมือ เวชภัณฑ์ ใดๆในห้องพยาบาลหรือสถานประกอบการได้รับความเสียหาย
8.    ไม่จงใจหรือเจตนาปฏิบัติงานล่าช้า หรือก่อให้เกิดความเสียหายกับบริษัท หรือสถานประกอบการ
9.    รักษาผลประโยชน์ของบริษัท โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์ใดๆจากบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งติดต่อทำธุรกิจอื่นๆ กับบริษัทหรือสถานประกอบการ
10.           ไม่ให้ข้อมูลอันเป็นควาลับของสถานประกอบการ หรือปกปิดข้อเท็จจริงอันอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันชอบธรรม
11.           ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพต่อเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาตลอดจนผู้รับบริการ และไม่ประพฤติตนหรือกระทำการใดๆที่จะนำความเสื่อมเสียมาสู่บริษัท



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker

ในการดำเนินงานด้านอาชีวเวชศาสตร์นั้น การตรวจยืนยันการสัมผัสสารเคมีด้วยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker หรือ biomarker) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง บทความนี้เป็นบทความที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา เขียนไว้นานพอสมควรแล้ว เห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงจะขอนำมาลงเผยแพร่ไว้ค่ะ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ  (Biomarker) นพ.วิวัฒน์  เอกบูรณะวัฒน์ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ รพ.สมิติเวช ศรีราชา บทนำ ในการทำงานทางด้านอาชีวอนามัยนั้น การดูแลสุขภาพผู้ที่สัมผัสสารเคมีต่างๆ ในที่ทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งการดูแลสุขภาพผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมีนั้น วิธีหนึ่งคือการเฝ้าระวังทางสุขภาพ ซึ่งหมายถึงการประเมินเป็นระยะ เพื่อจะได้ทราบว่าพนักงานมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีจนเป็นอันตรายแล้วหรือยัง เราจะประเมินการสัมผัสสารเคมีของพนักงานได้อย่างไร ? ตอบ : ทำได้โดยใช้ข้อมูลจากหลายทาง คือ สอบถามจากพนักงานโดยตรง (ถามอาการเช่น เคืองตา , เวียนหัว, แสบจมูก ฯลฯ) ตรวจร่างกายพนักงาน (ดูอาการเช่น ซีด , ตัวเหลือง, จิตประสาทสับสน ฯลฯ) ตรวจวัดปริมาณสารเคมีในสิ่งแวดล้อม  (environmeatal mo

พิษของกรดกัดแก้ว

rofluoric acid โดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ชื่อ  กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid) |||||  ชื่ออื่น  Hydrogen fluoride solution สูตรโมเลกุล  HF   |||||  น้ำหนักโมเลกุล  20.01   |||||  CAS Number  7664-39-3   |||||  UN Number  1052 ลักษณะทางกายภาพ  ของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ก่อความระคายเคือง คำอธิบาย  กรดกัดแก้ว หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid) คือสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride) ในน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลว ใส มีกลิ่นฉุนแสบ กรดชนิดนี้นิยมใช้ในการกัดแก้วหรือกระจกให้เป็นลาย พิษของกรดชนิดนี้ มีความรุนแรงและอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเมื่อหกรดใส่ผิวหนังแล้ว ไม่เพียงแต่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนที่สัมผัสเท่านั้น แต่ยังซึมลึกลงไปกัดกร่อนถึงกระดูกได้ด้วย พิษของกรดกัดแก้ว สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านพิษคือแคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน  ACGIH TLV (2004): TWA = 0.5 ppm, Ceiling = 2 ppm ||||| NIOSH REL: TWA = 3 ppm, Ceiling = 6 ppm, IDLH = 30 ppm ||||| OSHA PEL: TWA = 3 ppm ค่ามาตรฐานในร่างกาย  ยังไม่มีการกำหนดค