ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การจัดการขยะติดเชื้อในห้องพยาบาลประจำโรงงาน

จากการจัดการสิ่งแวดล้อมมีข้อกำหนดด้านการจัดการขยะอันตรายอันเกิดจากสิ่งปนเปื้อนในการปฏิบัติการพยาบาล ที่พยาบาลควรมีการจัดการให้สอดคล้องกับ กระบวนการกำจัดขยะในโรงงาน

  1. มีการแยกขยะที่ถูกต้อง ตามสัญญลักษณ์ที่เราเลือกใช้คือถุงแดง ขนาดใหญ่กว่าภาชนะบรรจุ หรือถังขยะเล็กน้อย ขนาดเหมาะสมกับปริมาณขยะติดเชื้อ(หรือขยะอันตราย) 
  2. เลือกความหนาของพลาสติกให้เหมาะสม ป้องกันการรั่วซึม
  3. ภาชนะรองรับต้องมีฝาปิด ชนิดที่ใช้เท้าเหยียบเปิดปิด หรือมีการเปิดปิดได้ตามต้องการโดยไม่มีการสัมผัส
  4. วางในตำแหน่งที่ระบุเท่านั้น (ควรชิดฝาด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่กีดขวางทางสัญจร) ด้วยเหตุผลที่ว่า ป้องกันการล้มและหกเลอะเทอะ 
  5. หลังการใช้งานครบ 12 ชม. ควรรวบปากถุงผูกให้แน่น เปลี่ยนถุงใหม่
  6. ย้ายขยะที่เก็บรวบรวมแล้ว นำไปพักไว้รอการนำไปกำจัด
  7. สถานที่พักขยะติดเชื้อควรเป็นที่ปิด จำกัดผู้เข้าถึงและปลอดภัยจากการขุดคุ้ยจากสุนัข
  8. การขนย้ายขยะต้องจัดการโดยผู้ได้รับการอบรมการเคลื่อนย้ายขยะอันตราย มีเครื่องป้องกันส่วนบุคคล การจัดเก็บและทางสัญจรขยะ รวมถึงการจัดการหากขยะรั่วซึมหรือ เกิดอุบัติเหตุขณะขนย้าย
  9. การกำจัดขยะต้องได้รับการรับรองจากเทศบาลตามเทศบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูล และสุขลักษณะในการประกอบกิจการกำจัดขยะ
  10. การป้องกันตัวพยาบาลเองในการอยู่ในบรรยากาศปิด เช่นห้องพยาบาล การเปิดปิดถังขยะควรระมัดระวังแมลงสัตว์กัดแทะ และแมลงวัน ควรดูแลการหมุนเวียนอากาศให้มีการระบายออกด้านนอกตลอดระยะเวลาทำการ 
ด้วยความปลอดภัยเป็นหัวใจหนึ่งของการให้บริการ ขอให้ตระหนักถึง เป็นอันดับแรก 

ความคิดเห็น

ikiiajabahri กล่าวว่า
Casino Roll Casino Review for 2021 - Play With No Deposit
The site is very easy to navigate 먹튀검증 and has a simple website and 윌리엄힐 allows you to 블루 벳 먹튀 make 강원 랜드 바카라 the most 포커 게임 다운 of your bets. This means that whenever you

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker

ในการดำเนินงานด้านอาชีวเวชศาสตร์นั้น การตรวจยืนยันการสัมผัสสารเคมีด้วยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker หรือ biomarker) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง บทความนี้เป็นบทความที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา เขียนไว้นานพอสมควรแล้ว เห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงจะขอนำมาลงเผยแพร่ไว้ค่ะ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ  (Biomarker) นพ.วิวัฒน์  เอกบูรณะวัฒน์ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ รพ.สมิติเวช ศรีราชา บทนำ ในการทำงานทางด้านอาชีวอนามัยนั้น การดูแลสุขภาพผู้ที่สัมผัสสารเคมีต่างๆ ในที่ทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งการดูแลสุขภาพผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมีนั้น วิธีหนึ่งคือการเฝ้าระวังทางสุขภาพ ซึ่งหมายถึงการประเมินเป็นระยะ เพื่อจะได้ทราบว่าพนักงานมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีจนเป็นอันตรายแล้วหรือยัง เราจะประเมินการสัมผัสสารเคมีของพนักงานได้อย่างไร ? ตอบ : ทำได้โดยใช้ข้อมูลจากหลายทาง คือ สอบถามจากพนักงานโดยตรง (ถามอาการเช่น เคืองตา , เวียนหัว, แสบจมูก ฯลฯ) ตรวจร่างกายพนักงาน (ดูอาการเช่น ซีด , ตัวเหลือง, จิตประสาทสับสน ฯลฯ) ตรวจวัดปริมาณสารเคมีในสิ่งแวดล้อม  (environmeatal mo

พิษของกรดกัดแก้ว

rofluoric acid โดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ชื่อ  กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid) |||||  ชื่ออื่น  Hydrogen fluoride solution สูตรโมเลกุล  HF   |||||  น้ำหนักโมเลกุล  20.01   |||||  CAS Number  7664-39-3   |||||  UN Number  1052 ลักษณะทางกายภาพ  ของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ก่อความระคายเคือง คำอธิบาย  กรดกัดแก้ว หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid) คือสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride) ในน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลว ใส มีกลิ่นฉุนแสบ กรดชนิดนี้นิยมใช้ในการกัดแก้วหรือกระจกให้เป็นลาย พิษของกรดชนิดนี้ มีความรุนแรงและอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเมื่อหกรดใส่ผิวหนังแล้ว ไม่เพียงแต่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนที่สัมผัสเท่านั้น แต่ยังซึมลึกลงไปกัดกร่อนถึงกระดูกได้ด้วย พิษของกรดกัดแก้ว สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านพิษคือแคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน  ACGIH TLV (2004): TWA = 0.5 ppm, Ceiling = 2 ppm ||||| NIOSH REL: TWA = 3 ppm, Ceiling = 6 ppm, IDLH = 30 ppm ||||| OSHA PEL: TWA = 3 ppm ค่ามาตรฐานในร่างกาย  ยังไม่มีการกำหนดค

ระเบียบปฏิบัติทีมพยาบาลบริษัทพณาอาชีวอนามัย

บททั่วไป 1.     บริษัทสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมกฎระเบียบ และข้อบังคับเพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ต้องให้สอดคล้องกับ พรบ. กฎหมายแรงงานทุกประการ 2.     สถานประกอบการหมายถึง “ผู้ว่าจ้าง” ที่ทำสัญญาจ้างแพทย์/พยาบาล ห้างหุ้นส่วนสามัญพณาอาชีวอนามัย โดยในสถานะ “ผู้รับจ้าง” 3.     บริษัทหมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญพณาอาชีวอนามัย 4.     พนักงานฝ่ายการพยาบาลหมายถึง พนักงานท่เข้าประจำการห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ประกอบด้วยพนักงาน Full time รายวัน และพนักงาน past time รายวัน 4.1     พนักงาน full time หมายถึงบุคคลที่เข้าไปปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการโดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษํทฯ ตามวันที่ปฏิบัติงาน 4.2     พนักงาน past time รายวัน หมายถึง บุคคลที่ประจำอยู่ในโรงพยาบาลของภาครัฐ-เอกชน โดยบริษัทฯ ตกลงให้เข้าไปปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ซึ่งจำนวนวันทำการไม่แน่นอน โดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษํทฯ ตามวันที่ปฏิบัติงาน การว่าจ้างพนักงานฝ่ายการพยาบาล คุณสมบัติของพนักงาน 1.     จบการศึกษาระ