ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2011

พิษของคลอรีน

โดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ (11 พฤษภาคม 2554) แหล่งที่มา  www.thaitox.com ชื่อ  คลอรีน (Chlorine) |||||  ชื่ออื่น  Chlorine gas, Dichlorine สูตรโมเลกุล  Cl 2   |||||  น้ำหนักโมเลกุล  70.9   |||||  CAS Number  7782-50-5   |||||  UN Number  1017 ลักษณะทางกายภาพ  แก็สสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น หนักกว่าอากาศ คำอธิบาย  คลอรีนในสถานะบริสุทธิ์เป็นแก็สสีเหลือง (yellow) หรือเหลืองอมเขียว (yellowish-green) มีกลิ่นเหม็นฉุน และก่อความระคายเคือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ คลอรีนถูกใช้ในอุตสาหกรรมทางเคมีหลายอย่าง ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารฟอกขาว (bleaching agent) ในรูปสารประกอบ hypochlorite ใช้ใส่ลงในสระว่ายน้ำและน้ำประปาเพื่อฆ่าเชื้อโรค สารประกอบ hypochlorite นี้เป็นสารละลายที่ได้จากการเติมแก็สคลอรีนลงในน้ำ ในสารฟอกขาวที่ใช้ตามบ้านหลายๆ สูตรก็จะมี hypochlorite อยู่ประมาณ 3 – 5 % แต่หากเป็นสารฟอกขาวที่ใช้ในอุตสาหกรรมมักเข้มข้นกว่า อาจเข้มข้นถึง 20 % หากเติมกรดลงในสารละลาย hypochlorite จะได้แก็สคลอรีนกลับคืนมา หากเติมแอมโมเนียลงในสารละลาย hypochlorite จะได้แก็สที่มีชื่อว่าคลอรามีน (chlor

พิษของกรดกัดแก้ว

rofluoric acid โดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ชื่อ  กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid) |||||  ชื่ออื่น  Hydrogen fluoride solution สูตรโมเลกุล  HF   |||||  น้ำหนักโมเลกุล  20.01   |||||  CAS Number  7664-39-3   |||||  UN Number  1052 ลักษณะทางกายภาพ  ของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ก่อความระคายเคือง คำอธิบาย  กรดกัดแก้ว หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid) คือสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride) ในน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลว ใส มีกลิ่นฉุนแสบ กรดชนิดนี้นิยมใช้ในการกัดแก้วหรือกระจกให้เป็นลาย พิษของกรดชนิดนี้ มีความรุนแรงและอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเมื่อหกรดใส่ผิวหนังแล้ว ไม่เพียงแต่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนที่สัมผัสเท่านั้น แต่ยังซึมลึกลงไปกัดกร่อนถึงกระดูกได้ด้วย พิษของกรดกัดแก้ว สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านพิษคือแคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน  ACGIH TLV (2004): TWA = 0.5 ppm, Ceiling = 2 ppm ||||| NIOSH REL: TWA = 3 ppm, Ceiling = 6 ppm, IDLH = 30 ppm ||||| OSHA PEL: TWA = 3 ppm ค่ามาตรฐานในร่างกาย  ยังไม่มีการกำหนดค