ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ท่านั่งตามหลักการยศาสตร์


การยศาสตร์ (Ergonomics)

           การยศาสตร์ คืออะไร?         
              การยศาสตร์(ergonomics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก คือ "ergon" ที่หมายถึงงาน(work) และอีกคำหนึ่ง "nomos" ที่แปลว่า กฎตามธรรมชาติ(Natural Laws) เมื่อนำมารวมกันจำกลายเป็นคำว่า "ergonomics" หรือ "laws of work" ที่อาจแปลได้ว่ากฎของงาน ซึ่งเป็นศาสตร์ หรือวิชาการที่เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน หรือเป็นการปรับปรุงสภาพการทำงานอย่างเป็นระบบ

         สาเหตุที่นำไปสู่อาการบาทเจ็บจากการทำงาน         
-       สภาพการทำงานไม่เหมาะสม เช่น แสงสว่าง, เสียงดัง, อุณหภูมิ, ความสั่นสะเทือน, ความเร็วของเครื่องจักร, งานซ้ำซากจำเจ
-       อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือต่างๆที่มีขนาดไม่เหมาะสมกับขนาด สัดส่วนของร่างกายผู้ปฏิบัติงาน
-       ลักษณะงานที่ทำด้วยท่าทางอิริยาบทที่ฝืนธรรมชาติ ได้แก่ งานที่ต้องมีการบิดโค้งงงอของข้อมือ งอแขน การงอศอก การจับ โดยเฉพาะนิ้วมือซ้ำๆ งานที่ต้องก้มศีรษะ ก้มหลัง บิดเอี้ยวตัว เอื้อมหรือยกสิ่งของขึ้นสุดแขน
           ปัญหาการยศาสตร์ที่พบมากในสถานประกอบการ?           

              จากการรวบรวมสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานกองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พบว่าปัญหาด้านการยศาสตร์นี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการมี 4 ประการใหญ่ คือ
               1.การประสบอันตรายจากการยกหรือเคลื่อนย้ายของหนัก
               2.การประสบอันตรายจากท่าทางการทำงาน
               3.อาการเจ็บป่วยจากการเคลื่อนย้ายของหนัก
               4.อาการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงาน

    ตัวอย่างการแก้ปัญหาหรือดำเนินงานด้านการยศาสตร์ที่ถูกต้อง?   
               การทำงานต่างๆไม่ว่าจะในหรือนอกสถานประกอบกิจการ จะสามารถพบเห็นการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า ปวดข้อ ปวดหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดหลักการยศาสตร์ เช่น การยกของหนัก ท่าทางการนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ การทำงานในฝ่ายผลิตชิ้นงานต่างๆ เป็นต้น  ยกตัวอย่าง เช่น ท่าทางการยกของหนักซึ่งโดยทั่วไปมักจะก้มหลังยกซึ่งถือเป็นวิธีที่ผิด! ที่ถูกต้องควรจะใช้การย่อตัวแทน เพราะการก้มหลังนั้นจะส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลังเป็นต้นเหตุของอาการปวดหลัง  หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือท่าทางการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีการจัดท่าทางในการนั่ง การปรับระดับความสูงของเก้าอี้ ปรับระดับของหน้าจอ เป็นต้น
ตัวอย่างท่าทางการยกของที่ถูกวิธี

    ท่าทางการนั่งทำงานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง    
เพื่อเป็นการถนอมรักษาสุขภาพของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ควรปฏิบัติดังนี้
1. ตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ไว้ในที่มีแสงสะท้อนมากเนื่องจากแสงสะท้อนเข้าตาทาให้เสียสายตาได้
2. ระดับของจอภาพ ควรปรับระดับจอภาพให้อยู่ในแนวต่ากว่าระดับสายตาเล็กน้อยจะได้มองหน้าจอได้อย่างสบายตา
3. การนั่ง ควรนั่งห่างจากตัวเครื่องประมาณ 2 – 2.5 ฟุต นั่งลาตัวให้ตรง ในท่าที่สบายให้แผ่นหลังพอดีกับพนักพิงเก้าอี้
4. การวางข้อศอก ควรวางข้อศอกให้อยู่ในแนวเดียวกับระดับการพิมพ์
5. การวางเท้า ควรวางเท้าให้พอดีกับพื้นราบ
6. การพักสายตา ในระหว่างที่ใช้เครื่องควรมีการพักสายตาเป็นระยะ
ตัวอย่างท่าทางการใช้งาน คอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง

ตัวอย่างท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker

ในการดำเนินงานด้านอาชีวเวชศาสตร์นั้น การตรวจยืนยันการสัมผัสสารเคมีด้วยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker หรือ biomarker) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง บทความนี้เป็นบทความที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา เขียนไว้นานพอสมควรแล้ว เห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงจะขอนำมาลงเผยแพร่ไว้ค่ะ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ  (Biomarker) นพ.วิวัฒน์  เอกบูรณะวัฒน์ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ รพ.สมิติเวช ศรีราชา บทนำ ในการทำงานทางด้านอาชีวอนามัยนั้น การดูแลสุขภาพผู้ที่สัมผัสสารเคมีต่างๆ ในที่ทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งการดูแลสุขภาพผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมีนั้น วิธีหนึ่งคือการเฝ้าระวังทางสุขภาพ ซึ่งหมายถึงการประเมินเป็นระยะ เพื่อจะได้ทราบว่าพนักงานมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีจนเป็นอันตรายแล้วหรือยัง เราจะประเมินการสัมผัสสารเคมีของพนักงานได้อย่างไร ? ตอบ : ทำได้โดยใช้ข้อมูลจากหลายทาง คือ สอบถามจากพนักงานโดยตรง (ถามอาการเช่น เคืองตา , เวียนหัว, แสบจมูก ฯลฯ) ตรวจร่างกายพนักงาน (ดูอาการเช่น ซีด , ตัวเหลือง, จิตประสาทสับสน ฯลฯ) ตรวจวัดปริมาณสารเคมีในสิ่งแวดล้อม  (environmeatal mo

พิษของกรดกัดแก้ว

rofluoric acid โดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ชื่อ  กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid) |||||  ชื่ออื่น  Hydrogen fluoride solution สูตรโมเลกุล  HF   |||||  น้ำหนักโมเลกุล  20.01   |||||  CAS Number  7664-39-3   |||||  UN Number  1052 ลักษณะทางกายภาพ  ของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ก่อความระคายเคือง คำอธิบาย  กรดกัดแก้ว หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid) คือสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride) ในน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลว ใส มีกลิ่นฉุนแสบ กรดชนิดนี้นิยมใช้ในการกัดแก้วหรือกระจกให้เป็นลาย พิษของกรดชนิดนี้ มีความรุนแรงและอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเมื่อหกรดใส่ผิวหนังแล้ว ไม่เพียงแต่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนที่สัมผัสเท่านั้น แต่ยังซึมลึกลงไปกัดกร่อนถึงกระดูกได้ด้วย พิษของกรดกัดแก้ว สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านพิษคือแคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน  ACGIH TLV (2004): TWA = 0.5 ppm, Ceiling = 2 ppm ||||| NIOSH REL: TWA = 3 ppm, Ceiling = 6 ppm, IDLH = 30 ppm ||||| OSHA PEL: TWA = 3 ppm ค่ามาตรฐานในร่างกาย  ยังไม่มีการกำหนดค

ระเบียบปฏิบัติทีมพยาบาลบริษัทพณาอาชีวอนามัย

บททั่วไป 1.     บริษัทสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมกฎระเบียบ และข้อบังคับเพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ต้องให้สอดคล้องกับ พรบ. กฎหมายแรงงานทุกประการ 2.     สถานประกอบการหมายถึง “ผู้ว่าจ้าง” ที่ทำสัญญาจ้างแพทย์/พยาบาล ห้างหุ้นส่วนสามัญพณาอาชีวอนามัย โดยในสถานะ “ผู้รับจ้าง” 3.     บริษัทหมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญพณาอาชีวอนามัย 4.     พนักงานฝ่ายการพยาบาลหมายถึง พนักงานท่เข้าประจำการห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ประกอบด้วยพนักงาน Full time รายวัน และพนักงาน past time รายวัน 4.1     พนักงาน full time หมายถึงบุคคลที่เข้าไปปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการโดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษํทฯ ตามวันที่ปฏิบัติงาน 4.2     พนักงาน past time รายวัน หมายถึง บุคคลที่ประจำอยู่ในโรงพยาบาลของภาครัฐ-เอกชน โดยบริษัทฯ ตกลงให้เข้าไปปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ซึ่งจำนวนวันทำการไม่แน่นอน โดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษํทฯ ตามวันที่ปฏิบัติงาน การว่าจ้างพนักงานฝ่ายการพยาบาล คุณสมบัติของพนักงาน 1.     จบการศึกษาระ