ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การจัดการด้านอาชีวอนามัย

การจัดการด้านสุขภาพอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย การจัดบริการด้านสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน 1. บริการด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในสถานประกอบการ - ตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน - ประเมินความเสี่ยงและอันตราย - จัดให้มีการปรับปรุงและควบคุมอันตรายให้ลดน้อยลง - การสุขาภิบาลที่ดีในโรงงาน 2. การปรับปรุงงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน - การออกแบบ - เครื่องจักร ที่นั่ง วิธีการปฏิบัติงาน การจัดบริการด้านความปลอดภัยในการทำงาน 1. ความปลอดภัยของเครื่องจักร 2. การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล 3. การจัดให้มีการฝึกอบรม- ส่งเสริมความปลอดภัย 4. การทบทวนการบริหารงานความปลอดภัยฯ 5. ออกกฏระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ -การป้องกัน 6. เก็บรวบรวมสถิติเกี่ยวกับการบาดเจ็บและเจ็บป่วย การจัดบริการด้านสุขภาพอนามัย 1. การป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ - มีการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน เพื่อจัดให้คนงานทำงานให้เหมาะสมกับงานที่ทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย - มีการตรวจสุขภาพอนามัยคนงานเป็นระยะ ๆ หลังจากที่ได้ทำงานไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการค้นหาโรคแต่เนิ่น ๆ และรักษาได้ทันท่วงที - มีการให้สุขศึกษา สวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่และคนงานที่เกี่ยวข้องอาจในรูปของการจัดการอบรม เอกสาร โปสเตอร์ หรือการจัดนิทรรศการก็ได้ - มีการให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่เจ้าหน้าที่ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่น การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบี - มีโครงการในเรื่องโภชนาการแก่ผู้ประกอบการเพื่อคนงานจะได้รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ - มีบริการด้านสวัสดิการ เช่น ให้มีการพักผ่อนหย่อนใจ และการบริการ สวัสดิการด้านอื่น ๆ 2. การรักษาพยาบาลและการส่งต่อ - มีการปฐมพยาบาลในกรณีที่คนงานได้รับอุบัติเหตุก่อนส่งต่อเพื่อรักษา 3. ฟื้นฟูสภาพ - มีการตรวจสุขภาพคนงานที่หายเจ็บป่วยแล้ว เพื่อดูว่าเขามีความ สามารถและเหมาะสมจะทำงานใหม่ได้เพียงใด 4. ตรวจพิเศษด้านอาชีวเวชศาสตร์ - ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน - ตรวจสมรรถภาพปอด - ตรวจสมรรถภาพการมองเห็น 5. การบันทึกระเบียนรายงาน ** มีการรวบรวมรายงานและสถิติเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานเช่น สถิติการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน การจัดบุคลากรในหน่วยบริการสุขภาพ อย่างน้อยควรจัดให้เพียงพอต่อการดำเนินการดังต่อไปนี้ * ปฐมพยาบาลและรักษาในกรณีรีบด่วน และกรณีเกิดอุบัติเหตุจัดส่งไปรักษาต่อได้ * ตรวจสุขภาพตามกฎหมาย * เก็บรวบรวมสถิติ รายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของพนักงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้าง การจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล * มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ปัจจัยในการปฐมพยาบาล * ถ้ามีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกัน 200 คนขึ้นไป + ห้องรักษาพยาบาล + เตียงพักคนไข้ 1 เตียง + เวชภัณฑ์ * มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกัน 1,000 คนขึ้นไป - ห้องรักษาพยาบาล - เตียงพักคนไข้ 1 เตียง - เวชภัณฑ์ - ยานพาหนะ จำนวนพยาบาลในสถานประกอบการ กรณีลูกจ้าง 200 คน - 999 คน * ต้องจัดให้มีพยาบาลประจำ 1 คน ตลอดเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่าวันละ 8 ชม. * หากมีลูกจ้างเพิ่ม ให้มีพยาบาลเพิ่ม 1 คน : ลูกจ้างที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1,000 คน กรณีลูกจ้าง 1,000 คนขึ้นไป * ต้องจัดให้มีพยาบาลประจำอย่างน้อย 2 คน * เวลาทำงานปกติของแต่ละคน ไม่น้อยกว่าวันละ 8 ชม. คุณสมบัติพยาบาล - สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า ป.ตรี สาขาพยาบาลอาชีว อนามัย หรือเทียบเท่า - ผ่านการอบรมด้านอาชีวอนามัยไม่ต่ำกว่า 60 ชม. - ปฏิบัติงานอาชีวอนามัยไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์กำหนด - สำเร็จการศึกษาพยาบาล หรือการพยาบาลผดุงครรภ์หลักสูตร 2 ปี ที่ปฏิบัติงานอาชีวอนามัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวนแพทย์ในสถานประกอบการ * กรณีลูกจ้าง 200 - 499 คน ต้องจัดให้มีแพทย์ประจำไม่น้อยกว่า 8 ชม/m * กรณีลูกจ้าง 500 - 999 คน ต้องจัดให้มีแพทย์ประจำไม่น้อยกว่า 4 ชม/wk. * กรณีลูกจ้าง 1,000 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีแพทย์ประจำไม่น้อยกว่า 6 ชม/wk คุณสมบัติแพทย์ - เป็นแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง - ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 60 ชม. - ปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับอาชีวเวชศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 1 ปี อุปสรรคและปัญหาของประเทศไทย - จำนวนบุคลากรในงานอาชีวอนามัยยังคงมีจำนวนไม่เพียงพอ - องค์ความรู้และการฝึกอบรม ยังต้องเร่งพัฒนา - ทัศนคติของนายจ้างลูกจ้างที่ยังไม่ให้ความสำคัญ - แผนงานนโยบายของรัฐบาลเน้นการลงทุนด้านอุตสาหกรรมไม่เคร่งครัดด้านอาชีวอนามัย - กฎหมายที่เกี่ยวข้องและการบังคับใช้ กฎหมายเนื้อหายังไม่สมบูรณ์ ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย - สำหรับพื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่นควรพัฒนาเป็นแบบ National Health Service Model - กำหนดนโยบายให้ความสำคัญด้านอาชีวอนามัย - กำหนดนโยบายโดยนายจ้างและลูกจ้าง - ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง http://www.sut.ac.th/im/618241-BASIC_OCC/leson%2010-3.htm สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในการทำงานจะเป็นปัจจัยในการตัดสินสมรรถภาพในการทำงานของเรา อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ว่าเรามีนิสัยการทำงานที่ถูกสุขลักษณะ และปลอดภัยหรือไม่ การปฎิบัติตามคำแนะนำ จะทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน การตรวจวัดสภาพแวดล้อม ความร้อน แสงสว่าง เสียง ตามกฎหมาย กฎกระทรวงได้กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงของกระทรวงแรงงาน ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ปี 2541 เป็นกฎกระทรวงที่มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้นายจ้างดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในเรื่องของความร้อน แสงสว่าง และเสียงดังที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ซึ่งมีสถานประกอบการหลายประเภทกิจการที่มีสภาพการทำงานเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการทำงานของลูกจ้างคนงาน โดยมีสภาพความร้อนสูงในกระบวนการผลิต มีแสงสว่างไม่เพียงพอ มีเสียงดังเกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยในเรื่องของความร้อนในสภาพการทำงาน การตรวจวัดความร้อนในสถานที่ทำงาน กฎกระทรวงได้กำหนดให้นายจ้างควบคุมและรักษาระดับความร้อนภายในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างทำงานอยู่มิให้เกินมาตรฐาน โดยกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างที่ต้องทำการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน ได้แก่ กิจการประเภทการผลิตน้ำตาลและทำให้บริสุทธิ์ การปั่นทอที่มีการฟอกหรือย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษหรือกระดาษ การผลิตยางรถยนต์หรือหล่อดอกยาง การผลิตกระจกเครื่องแก้วหรือหลอดไฟ การผลิตซิเมนต์หรือปูนขาว การถลุงหล่อหลอมหรือรีดโลหะที่มีแหล่งกำเนิดความร้อนหรือมีการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากความร้อน โดยนายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับความร้อนในสถานประกอบกิจการ อย่างน้อยปีละครั้ง โดยใช้อุณหภูมิเวตลบัลบ์โกลบ (Wet Bulb Globe Temperature-WBGT) และเปรียบเทียบกับมาตรฐานการทำงานของลูกค้าที่ต้องทำงานเบา ปานกลาง หรืองานหนัก การตรวจวัดแสงสว่างในที่ทำงาน นายจ้างทุกประเภทกิจการจะต้องทำการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง โดยตรวจวัดบริเวณพื้นที่ทั่วไป บริเวณพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตที่ลูกจ้างทำงาน และบริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ใช้หน่วยเป็นลักซ์ (Lux) ในการอ่านค่า และเมื่อได้ค่าตรวจวัดแล้วก็นำมาเปรียบเทียบกับความเข้มของแสงสว่างตามที่กฎหมายกำหนด การตรวจวัดเสียงในที่ทำงาน นายจ้างที่ประกอบกิจการประเภทดังต่อไปนี้ต้องตรวจวัดระดับเสียง ได้แก่ ประเภทกิจการการระเบิดย่อย โม่หรือบดหิน การผลิตน้ำตาลหรือทำให้บริสุทธิ์ การผลิตน้ำแข็ง การปั่นทอโดยใช้เครื่องจักร การผลิตเครื่องเรือนเครื่องใช้จากไม้ การผลิตเยื่อกระดาษหรือกระดาษ กิจการทีมีการปั๊มหรือเจียรโลหะ กิจการที่มีแหล่งกำเนิดเสียง หรือสภาพการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากเสียง การตรวจวัดระดับเสียงใช้หน่วยวัดเป็นเดซิเบล โดยใช้ที่สเกลเอ โดยการตรวจวัดบริเวณที่มีลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่ ณ จุดนั้นรัศมีไม่เกินสามสิบเซ็นติเมตร แล้วนำค่าที่วัดได้มาเทียบกับค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด การดำเนินการภายหลังการตรวจวัด เมื่อตรวจวัดแล้ว นายจ้างต้องทำรายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน โดยให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพหรือให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่าที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นผู้รับรองรายงาน โดยนายจ้างต้องเก็บรายงานดังกล่าวไว้ที่สถานประกอบกิจการเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาทำการ พร้อมส่งรายงานคู่ฉบับต่ออธิบดีหรืออธิบดีมอบหมายภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทำการตรวจวัด นอกจากนั้นนายจ้างยังต้องมีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานในสภาวะการทำงานที่อาจจะได้รับอันตรายจากความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงด้วย ประโยชน์ของการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในเรื่องความร้อน แสงสว่างหรือเสียง การตรวจสุขภาพของลูกจ้างจะทำให้นายจ้างประเมินได้ว่าสถานประกอบการของตนเองมีความเสี่ยงที่เกิดอันตรายหรือโรคจากการทำงานหรือไม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างในเรื่องค่าทดแทน เพราะหากลูกจ้างเกิดโรคจากการทำงานเหล่านี้ จะทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนรวมทั้งภาพลักษณ์ที่ไม่ดีที่นายจ้างไม่ดูแลความปลอดภัยให้ลูกจ้าง หากเป็นกิจการที่ส่งออกสินค้าต่าง ๆ อาจถูกตีกลับหากประเทศคู่ค้าพบว่านายจ้างไม่มีการบริหารจัดการในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และปล่อยให้ลูกจ้างเกิดการเจ็บป่วย ดังนั้น นายจ้างประเภทกิจการที่กฎหมายกำหนดจะต้องรีบดำเนินการให้ลูกจ้างตามข้อกำหนดของกฎหมาย มิฉะนั้น นายจ้างเองก็จะมีความผิดเพราะฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จะมีโทษทั้งจำคุกและปรับโดยจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อ้างอิง มานพ ชาญธวัชชัย. สภาพแวดล้อมในการทำงาน. ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2553. จากเว็บไซต์ http://cpfshe.cpportal.net/article/tabid/121/articleType/ArticleView/articleId/49/.aspx นุชนาฏ บันทึกการเข้า .

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker

ในการดำเนินงานด้านอาชีวเวชศาสตร์นั้น การตรวจยืนยันการสัมผัสสารเคมีด้วยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker หรือ biomarker) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง บทความนี้เป็นบทความที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา เขียนไว้นานพอสมควรแล้ว เห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงจะขอนำมาลงเผยแพร่ไว้ค่ะ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ  (Biomarker) นพ.วิวัฒน์  เอกบูรณะวัฒน์ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ รพ.สมิติเวช ศรีราชา บทนำ ในการทำงานทางด้านอาชีวอนามัยนั้น การดูแลสุขภาพผู้ที่สัมผัสสารเคมีต่างๆ ในที่ทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งการดูแลสุขภาพผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมีนั้น วิธีหนึ่งคือการเฝ้าระวังทางสุขภาพ ซึ่งหมายถึงการประเมินเป็นระยะ เพื่อจะได้ทราบว่าพนักงานมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีจนเป็นอันตรายแล้วหรือยัง เราจะประเมินการสัมผัสสารเคมีของพนักงานได้อย่างไร ? ตอบ : ทำได้โดยใช้ข้อมูลจากหลายทาง คือ สอบถามจากพนักงานโดยตรง (ถามอาการเช่น เคืองตา , เวียนหัว, แสบจมูก ฯลฯ) ตรวจร่างกายพนักงาน (ดูอาการเช่น ซีด , ตัวเหลือง, จิตประสาทสับสน ฯลฯ) ตรวจวัดปริมาณสารเคมีในสิ่งแวดล้อม  (environmeatal mo

พิษของกรดกัดแก้ว

rofluoric acid โดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ชื่อ  กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid) |||||  ชื่ออื่น  Hydrogen fluoride solution สูตรโมเลกุล  HF   |||||  น้ำหนักโมเลกุล  20.01   |||||  CAS Number  7664-39-3   |||||  UN Number  1052 ลักษณะทางกายภาพ  ของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ก่อความระคายเคือง คำอธิบาย  กรดกัดแก้ว หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid) คือสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride) ในน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลว ใส มีกลิ่นฉุนแสบ กรดชนิดนี้นิยมใช้ในการกัดแก้วหรือกระจกให้เป็นลาย พิษของกรดชนิดนี้ มีความรุนแรงและอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเมื่อหกรดใส่ผิวหนังแล้ว ไม่เพียงแต่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนที่สัมผัสเท่านั้น แต่ยังซึมลึกลงไปกัดกร่อนถึงกระดูกได้ด้วย พิษของกรดกัดแก้ว สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านพิษคือแคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน  ACGIH TLV (2004): TWA = 0.5 ppm, Ceiling = 2 ppm ||||| NIOSH REL: TWA = 3 ppm, Ceiling = 6 ppm, IDLH = 30 ppm ||||| OSHA PEL: TWA = 3 ppm ค่ามาตรฐานในร่างกาย  ยังไม่มีการกำหนดค

ระเบียบปฏิบัติทีมพยาบาลบริษัทพณาอาชีวอนามัย

บททั่วไป 1.     บริษัทสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมกฎระเบียบ และข้อบังคับเพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ต้องให้สอดคล้องกับ พรบ. กฎหมายแรงงานทุกประการ 2.     สถานประกอบการหมายถึง “ผู้ว่าจ้าง” ที่ทำสัญญาจ้างแพทย์/พยาบาล ห้างหุ้นส่วนสามัญพณาอาชีวอนามัย โดยในสถานะ “ผู้รับจ้าง” 3.     บริษัทหมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญพณาอาชีวอนามัย 4.     พนักงานฝ่ายการพยาบาลหมายถึง พนักงานท่เข้าประจำการห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ประกอบด้วยพนักงาน Full time รายวัน และพนักงาน past time รายวัน 4.1     พนักงาน full time หมายถึงบุคคลที่เข้าไปปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการโดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษํทฯ ตามวันที่ปฏิบัติงาน 4.2     พนักงาน past time รายวัน หมายถึง บุคคลที่ประจำอยู่ในโรงพยาบาลของภาครัฐ-เอกชน โดยบริษัทฯ ตกลงให้เข้าไปปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ซึ่งจำนวนวันทำการไม่แน่นอน โดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษํทฯ ตามวันที่ปฏิบัติงาน การว่าจ้างพนักงานฝ่ายการพยาบาล คุณสมบัติของพนักงาน 1.     จบการศึกษาระ