ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การจัดการด้านสารเคมี

การบริหารจัดการเกี่ยวกับสารเคมี
การบริหารจัดการเกี่ยวกับสารเคมีเป็นประเด็นทีสำคัญอย่างยิ่งในระบบการจัดการ

1. การปฏิบัติงานในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย
การปฏิบัติงานใดๆ ในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายต้องได้รับการดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิดจากผู้ที่ได้รับการอบรม และมีประสบการณ์ในการจัดการเกี่ยวกับสารเคมีและ
วัตถุอันตราย โดยมีการกำหนดขอบเขต และแนวทางการรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจนซึ่งผู้ปฏิบัติงาน
มีความเข้าใจเป็นอย่างดี
วิธีการทำงานในอาคารเก็บต้องยึดหลักการเข้าก่อน-ออกก่อน (firstin-firstout) เพื่อลด
ความเสี่ยงที่เกิดจากการเลื่อมสภาพหรือการถูกทำลาย หรือความเสียหายของสารเคมีและ
วัตถุอันตราย ภาชนะบรรจุ หีบห่อ ฉลาก หรือเครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่างๆ
ต้องจัดเตรียมข้อแนะนำต่างๆ ให้พร้อมสำหรับผู้ปฏิบัติงานในอาคารเก็บสารเคมีและ
วัตถุอันตรายในเรื่องต่อไปนี้
- คำแนะนำในการทำงานเพื่อความปลอดภัยและความถูกต้องเกี่ยวกับอุปกรณ์ และวิธีการเก็บ
- ต้องมีข้อมูลความปลอดภัย MSDS สำหรับสารเคมีและวัตถุอันตรายทุกชนิดที่เก็บไว้
- คำแนะนำและวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยที่ดี
- คำแนะนำและวิธีการปฏิบัติงาน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
2. วิธีการรับ ขนถ่าย และการส่งสารเคมีและวัตถุอันตราย

เมื่อสารเคมีและวัตถุอันตรายส่งมาถึงอาคารเก็บ สารเคมีและวัตถุอันตรายต้องถูกจัดประเภทโดยพิจารณาจากใบขนสินค้า (bill of lading) และฉลาก ข้อมูลความปลอดภัย MSDS
ที่ได้จัดเตรียมโดยผู้ขาย
สารเคมีและวัตถุอันตรายต่างๆ ที่จะเก็บเข้าในอาคารเก็บ ต้องได้รับการตรวจสอบ
คุณลักษณะจากข้อมูลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ถ้าสารเคมีและวัตถุอันตรายนั้นหรือภาชนะบรรจุหีบห่ออยู่ในสภาพไม่ดี หรือด้วยเหตุใดๆก็ตามที่ปรากฏถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องเข้าดำเนินการจัดการอย่างเหมาะสมทันที
3. แผนผังการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย

ต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไว้โดยรอบระหว่างผนังอาคารกับกองสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บ และระหว่างกองสารเคมีแต่ละชนิดที่เก็บ เพื่อให้การตรวจสอบสภาพได้สะดวก มีการถ่ายเทอากาศที่ดี เพื่อการผจญเพลิงและจัดการกับสารเคมีและวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล
ต้องจัดเรียงสารเคมีและวัตถุอันตรายไว้ในสภาพที่ไม่กีดขวางการทำงานของรถฟอร์คลิฟท์ และการขนย้ายสารเคมีและวัตถุอันตราย รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ฉุกเฉิน ทางเดินแคบๆหรือพื้นที่
ที่แออัด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายต่อกองสารเคมีและวัตถุอันตรายได้
ทางเดิน ประตูเข้า-ออก และทางวิ่งของรถฟอร์คลิฟท์ต้องมีเครื่องหมายแสดงทิศทางและแนวทางเห็นได้อย่างชัดเจนบนพื้น และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันอันตรายต่อคนเดิน
การจัดเรียงสารเคมีและวัตถุอันตรายไม่ควรสูงเกิน 3 เมตร ยกเว้นกรณีการจัดเก็บที่มี
ชั้นวางเพื่อป้องกันการรับน้ำหนักที่มากเกินไป และเพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงพอไม่โค่นล้มลง การจัดเรียงสารเคมีและวัตถุอันตรายสูงๆโดยไม่มีชั้นวาง จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บอยู่ชั้นล่าง
ภาชนะหีบห่อบรรจุสารเคมีและวัตถุอันตรายที่มีคุณสมบัติคงทนรับน้ำหนักได้ สามารถ
จัดเรียงเป็นชั้นสูงๆ แต่ต้องทำเครื่องหมายพิเศษแสดงให้ทราบถึงความสูงในการจัดเก็บสูงสุดไว้ด้วย
ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อเครื่องหมาย “ด้านนี้อยู่ด้านบน” บนภาชนะหีบห่อ ถ้าไม่มีเครื่องหมายแสดงต้องแน่ใจว่าภาชนะหีบห่ออยู่ในตำแหน่งที่ฝาปิดอยู่ด้านบนในการจัดเรียงสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บในแต่ละส่วนของอาคาร โดยการ
- กำหนดหมายเลขของแต่ละพื้นที่
- แสดงตำแหน่ง ปริมาณ หรือกลุ่มสารเคมีและวัตถุอันตรายที่จัดเก็บตามคุณสมบัติที่ก่อให้เกิดอันตราย
- แสดงตำแน่งของอุปกรณ์ฉุกเฉิน อุปกรณ์ผจญเพลิงรวมทั้งเส้นทางหนีไฟ
- แผนผังนี้ต้องจัดทำไว้อย่างน้อย 2 ชุด เก็บไว้ที่สำนักงานและที่หน่วยดับเพลิง และต้อง
ทำการปรับปรุงข้อมูลในแผนผังนี้ให้ทันสมัยตลอดเวลา
- บัญชีรายชื่อสารเคมีและวัตถุอันตราย และตำแหน่งที่เก็บในอาคาร ต้องทำการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา

4. การแยกเก็บและการคัดเลือกเก็บสารเคมี

การแยกเก็บ เป็นการเก็บกลุ่มสารเคมีต่างชนิดกัน แยกเก็บออกจากกันเป็นสัดส่วนภายในอาคารเดียวกัน
การคัดแยกเก็บ เป็นการเก็บสารเคมีตามคุณสมบัติทางกายภาพ กลุ่มสารเคมีต่างชนิดกันแยกเก็บไว้คนละอาคาร หรือภายในอาคารเดียวกันแต่มีกำแพงกันไฟกั้น
วัตถุประสงค์ของการแยกเก็บ และการคัดแยกเก็บสารเคมีเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้และการปนเปื้อนของสารที่เข้ากันไม่ได้
การเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายที่ถูกต้อง จะสามารถลดพื้นที่ของการเกิดอันตราย และลดความจำเป็นในการสร้างเขื่อนกั้นหรือลดการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า
หลักการพื้นฐานในการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย
- ไม่เก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายที่มีอันตรายต่างกันไว้รวมกัน โดยพิจารณาจากสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดประเภทสารอันตรายที่กำหนดอันตรายโดยองค์การสหประชาติ
- การจัดเก็บของเหลวไวไฟสูงและแก๊ส ต้องจัดเก็บไว้นอกอาคาร
- สารเคมีและวัตถุอันตรายไวไฟ
5. สุขลักษณะอนามัยส่วนบุคคล

การดำเนินการเพื่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุอันตราย

- จัดเตรียมชุดทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดร่างกายให้แก่คนงาน
- จัดสถานที่ที่สะอาดให้แก่คนงานสำหรับการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ และการสูบบุหรี่
- จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการสำหรับการซักล้าง รีดชุดปฏิบัติงานที่สกปรก
ซึ่งต้องซักล้างบ่อยๆและสม่ำเสมอ หรืออาจใช้วิธีการว่าจ้างผู้อื่นดำเนินการ
- ห้ามรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ และสูบบุหรี่ในบริเวณที่ทำงาน
สำหรับการปฏิบัติงานประจำวัน ต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน ดังนี้
- หมวกสวมป้องกัน เช่น หมวกนิรภัย หมวกผ้า
- เครื่องป้องกันตา เช่น แว่นตานิรภัย แว่นสวมป้องกันตา หน้ากาก
- หน้ากากครอบกันฝุ่น ควัน และฟูม
- ชุดสวมทำงานที่เป็นชิ้นเดียว สวมใส่กระชับ และปิดมิดชิด
- ถุงมือพลาสติกหรือถุงมือยาง
- ผ้ากันเปื้อนพลาสติกหรือยาง
- รองเท้าบู๊ทสวมทำงานมีส่วนหัวแข็ง (รองเท้านิรภัย)

หมายเหตุ : ลักษณะของงานที่ทำจะเป็นตัวกำหนดว่า ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันชนิดใดดังกล่าว
อุปกรณ์สำหรับกรณีฉุกเฉินต้องจัดเตรียมให้พร้อมไว้ด้านนอกอาคารใกล้ทางเข้าออก
6. การหกรั่วไหลของสารเคมีและวัตถุอันตราย

การดูแลรักษาความสะอาด การขนย้ายสารเคมีและวัตถุอันตรายอย่างระมัดระวังช่วยให้ภาชนะบรรจุ มีความคงทนไม่ชำรุด แต่ถ้าการขนย้ายไม่ถูกวิธี ขาดความระมัดระวัง เป็นสาเหตุให้ภาชนะบรรจุได้รับความเสียหาย และทำให้หกรั่วไหลได้
เพื่อเป็นการลดอันตรายจากการสารที่หกรั่วไหล จำเป็นต้องจัดการเก็บและทำความสะอาดทันที ทั้งนี้ให้ศึกษาข้อมูลความปลอดภัย MSDS ประกอบ
อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นในการจัดการกับสารเคมีและวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล คือ

- อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
- ถังเปล่าขนาดใหญ่
- กระดาษกาว เพื่อใช้ทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์บนถัง
- วัสดุดูดซับ เช่น ทราย ดิน ขี้เลื่อย
- สารละลายผงซักฟอก
- ไม้กวาด
- พลั่ว
- ประแจ
- กรวย

อุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต้องได้รับการตรวจสอบสภาพอย่างถี่ถ้วนและสม่ำเสมอ และต้องดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลต้องกำจัดสิ่งสกปรกปนเปื้อน และทำความสะอาด และ
ตรวจตราหลังใช้งานทุกครั้ง
ต้องจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลทุกครั้ง
ของเหลวที่หกรั่วไหลควรดูดซับด้วยสารดูดซับที่เหมาะสม เช่น ดินทราย ขี้เลื่อย อย่างไรก็ดีสารดูดซับเหล่านี้ไม่ควรใช้กับของเหลวไฟไฟและของเหลวออกซิไดส์
บริเวณที่หกรั่วไหลต้องจัดการกำจัดสารเคมีและวัตถุอันตรายออกไปตามคำแนะนำ
ในข้อมูลความปลอดภัย MSDS และกำจัดของเสียอย่างปลอดภัยตามคำแนะนำจากผู้ผลิต
ของแข็งที่หกรั่วไหลให้ทำความสะอาดด้วยเครื่องดูดฝุ่นอุตสาหกรรมหรืออาจใช้ทรายชื้นคลุก แล้วใช้พลั่วตัก กวาดพื้นด้วยแปรง
7. การกำจัดของเสีย

สารเคมีและวัตถุอันตรายที่เป็นของเสียทั้งหมด รวมทั้งภาชนะบรรจุหีบห่อ แผ่นรองสินค้า
ที่ชำรุดต้องกำจัดด้วยวิธีที่ปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมถึงแม้ว่าปริมาณสารเคมีและวัตถุอันตรายที่หกเพียงเล็กน้อย ก็ไม่สมควรที่จะปล่อยน้ำล้างพื้นลงสู่แหล่งน้ำผิวดินหรือ
ท่อระบาย ต้องได้รับการบำบัดก่อน
การกำจัดขยะสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บไว้นาน สารเคมีและวัตถุอันตรายที่ผลิตได้
ไม่ตรงตามข้อกำหนด วัสดุหีบห่อที่ปนเปื้อน และสารดูดซับ การกำจัดของเสียเหล่านี้ต้องใช้เทคนิคและวิธีการเก็บและกำจัดอย่างปลอดภัยและไม่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎหมายทางราชการกำหนด เพื่อความถูกต้อง ควรขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบโดยตรง
ข้อมูลความปลอดภัย MSDS จะมีข้อแนะนำและเทคนิควิธีการกำจัดสารเคมีและ
วัตถุอันตรายแต่ละชนิดอย่างเหมาะสม
ภาชนะบรรจุที่ปนเปื้อนสารเคมีและวัตถุอันตราย ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ต้องกำจัดหรือทำให้ใช้งานไม่ได้โดยการเจาะรูหรือทำลายก่อนทิ้ง
8. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

อาคารทุกแห่งต้องจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้พร้อมผู้ดูแลปฐมพยาบาลที่ได้รับการอบรมแล้ว
อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่จำเป็น ประกอบด้วย
- ฝักบัวสำหรับอาบน้ำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
- อุปกรณ์ล้างตา
- กระเป๋าเครื่องปฐมพยาบาล
- เปลหามคนเจ็บ
- ผ้าห่มใช้คลุมดับเพลิง
- แสงสว่างฉุกเฉินและแถบสะท้อนแสง
อุปกรณ์ปฐมพยาบาลนี้ ต้องได้รับการตรวจสอบบ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ และต้องบำรุงรักษาดูแลให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา พร้อมทั้งทำรายงานการตรวจสอบการบำรุงรักษาทุกครั้ง และเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาล แพทย์ เพื่อการช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุ
ฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดอาการเป็นพิษเฉียบพลัน
โรงพยาบาลและแพทย์ต้องทราบข้อมูลความปลอดภัย MSDS ของสารเคมีและ
วัตถุอันตรายทุกตัวที่เก็บในอาคาร และต้องมียาแก้พิษไว้เพื่อการรักษาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เอกสาร MSDS ต้องส่งไปให้แพทย์พร้อมผู้ป่วยด้วย เพราะใน MSDS จะมีคำแนะนำในเรื่อง
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นที่เกิดจากสารเคมีและวัตถุอันตรายนั้น
คำแนะนำทั่วไปเมื่อได้รับสารอันตราย
- เมื่อหายใจเอาฟูมหรือไอสารเข้าไป ให้นำผู้ป่วยไปที่อากาศบริสุทธิ์ และนำคนเจ็บส่งแพทย์
- เมื่อสารเคมีและวัตถุอันตรายเข้าตา ให้ชะล้างตาด้วยน้ำจำนวนมากๆ นานอย่างน้อย
15 นาที แล้วส่งคนเจ็บไปพบแพทย์
- เมื่อสัมผัสสารเคมีและวัตถุอันตรายทางผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำ ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกทันที ชำระล้างร่างกายและนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล
- เมื่อกินสารเคมีและวัตถุอันตรายเข้าไป ห้ามทำให้อาเจียน นอกจากมีคำแนะนำให้อาเจียนได้ใน MSDS รีบนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล
- เมื่อเกิดแผลไหม้และแผลพุพอง บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บควรทำให้เย็นโดยเร็วด้วยน้ำเย็น
จนทุเลาความเจ็บปวด เมื่อผิวหนังหลุดให้ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่ฆ่าเชื้อโรคแล้ว อย่าลอกผ้า
ที่ติดแผลออก และรีบนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล
- ต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์หลังจากได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วทุกกรณี
-END-

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker

ในการดำเนินงานด้านอาชีวเวชศาสตร์นั้น การตรวจยืนยันการสัมผัสสารเคมีด้วยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biological marker หรือ biomarker) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง บทความนี้เป็นบทความที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา เขียนไว้นานพอสมควรแล้ว เห็นว่าเป็นประโยชน์ จึงจะขอนำมาลงเผยแพร่ไว้ค่ะ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ  (Biomarker) นพ.วิวัฒน์  เอกบูรณะวัฒน์ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ รพ.สมิติเวช ศรีราชา บทนำ ในการทำงานทางด้านอาชีวอนามัยนั้น การดูแลสุขภาพผู้ที่สัมผัสสารเคมีต่างๆ ในที่ทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งการดูแลสุขภาพผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมีนั้น วิธีหนึ่งคือการเฝ้าระวังทางสุขภาพ ซึ่งหมายถึงการประเมินเป็นระยะ เพื่อจะได้ทราบว่าพนักงานมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีจนเป็นอันตรายแล้วหรือยัง เราจะประเมินการสัมผัสสารเคมีของพนักงานได้อย่างไร ? ตอบ : ทำได้โดยใช้ข้อมูลจากหลายทาง คือ สอบถามจากพนักงานโดยตรง (ถามอาการเช่น เคืองตา , เวียนหัว, แสบจมูก ฯลฯ) ตรวจร่างกายพนักงาน (ดูอาการเช่น ซีด , ตัวเหลือง, จิตประสาทสับสน ฯลฯ) ตรวจวัดปริมาณสารเคมีในสิ่งแวดล้อม  (environmeatal mo

พิษของกรดกัดแก้ว

rofluoric acid โดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ชื่อ  กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric acid) |||||  ชื่ออื่น  Hydrogen fluoride solution สูตรโมเลกุล  HF   |||||  น้ำหนักโมเลกุล  20.01   |||||  CAS Number  7664-39-3   |||||  UN Number  1052 ลักษณะทางกายภาพ  ของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ก่อความระคายเคือง คำอธิบาย  กรดกัดแก้ว หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid) คือสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (hydrogen fluoride) ในน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลว ใส มีกลิ่นฉุนแสบ กรดชนิดนี้นิยมใช้ในการกัดแก้วหรือกระจกให้เป็นลาย พิษของกรดชนิดนี้ มีความรุนแรงและอันตรายอย่างมาก เนื่องจากเมื่อหกรดใส่ผิวหนังแล้ว ไม่เพียงแต่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนที่สัมผัสเท่านั้น แต่ยังซึมลึกลงไปกัดกร่อนถึงกระดูกได้ด้วย พิษของกรดกัดแก้ว สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านพิษคือแคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน  ACGIH TLV (2004): TWA = 0.5 ppm, Ceiling = 2 ppm ||||| NIOSH REL: TWA = 3 ppm, Ceiling = 6 ppm, IDLH = 30 ppm ||||| OSHA PEL: TWA = 3 ppm ค่ามาตรฐานในร่างกาย  ยังไม่มีการกำหนดค

ระเบียบปฏิบัติทีมพยาบาลบริษัทพณาอาชีวอนามัย

บททั่วไป 1.     บริษัทสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมกฎระเบียบ และข้อบังคับเพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ต้องให้สอดคล้องกับ พรบ. กฎหมายแรงงานทุกประการ 2.     สถานประกอบการหมายถึง “ผู้ว่าจ้าง” ที่ทำสัญญาจ้างแพทย์/พยาบาล ห้างหุ้นส่วนสามัญพณาอาชีวอนามัย โดยในสถานะ “ผู้รับจ้าง” 3.     บริษัทหมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญพณาอาชีวอนามัย 4.     พนักงานฝ่ายการพยาบาลหมายถึง พนักงานท่เข้าประจำการห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ประกอบด้วยพนักงาน Full time รายวัน และพนักงาน past time รายวัน 4.1     พนักงาน full time หมายถึงบุคคลที่เข้าไปปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการโดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษํทฯ ตามวันที่ปฏิบัติงาน 4.2     พนักงาน past time รายวัน หมายถึง บุคคลที่ประจำอยู่ในโรงพยาบาลของภาครัฐ-เอกชน โดยบริษัทฯ ตกลงให้เข้าไปปฏิบัติงานประจำห้องพยาบาลของสถานประกอบการ ซึ่งจำนวนวันทำการไม่แน่นอน โดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษํทฯ ตามวันที่ปฏิบัติงาน การว่าจ้างพนักงานฝ่ายการพยาบาล คุณสมบัติของพนักงาน 1.     จบการศึกษาระ